..........................................................................................................
อ่านและวิเคราะห์เขียนสื่อความ
..........................................................................................................

มัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

ชื่อ กฤติรัตน์    สุนทรกนิษฐ   ชั้น ม.5/6   เลขที่ 4
____________________________________________________

เรื่อง : ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี AI

เนื้อหาและภาพประกอบ



AI (เอไอ) คืออะไร วิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์
AI : Artificial Intelligence (อาร์ตทิฟิคอล อินทอลนิจิน) หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ คือโปรแกรม Software (ซอฟแวร์) ต่าง ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์

คำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

การกระทำคล้ายมนุษย์ Acting Humanly (แอคติ่ง ฮูแมนลี่) 
     - การสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์
     - สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
     - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
     - เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
     - เรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

การคิดคล้ายมนุษย์ Thinking Humanly (แทงกิง ฮูแมนลี่) 
     - กลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ 
     - ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science (คลอนิทีฟ ไซอิน) เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

คิดอย่างมีเหตุผล Thinking rationally (แทงกิง ราสโนรี่) 
     - การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ
     - การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ
     - ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

กระทำอย่างมีเหตุผล Acting rationally (แอคติง ราสโนรี่)
     - การศึกษาเพื่อออกแบบโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่มีปัญญา 
     - พฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
     - การเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น โปรแกรมเล่นเกมหมากรุก ที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้


ตัวอย่างงานด้าน AI (เอไอ) ปัญญาประดิษฐ์ 
     - การวางแผน และการจัดตารางเวลาอัตโนมัติ autonomous planning and scheduling (ออโทโนมัส แพนนิง แอน แซกดูลิ่ง) ตัวอย่างที่สำคัญคือ โปรแกรมควบคุมยานอวกาศระยะไกลขององค์การ NASA (นาซา)

     - game playing (เกมส์ เพล์อิ่ง) เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Deep Blue (ดีพบลู) ของบริษัทไอบีเอ็ม เป็นโปรแกรมเล่นเกมหมากรุก สามารถเอาชนะคนที่เล่นหมากรุกได้เก่งที่สุดคือ Garry Kasparov (แกรี่ คาสปารอฟ) ด้วยคะแนน 3.5 ต่อ 2.5 ในเกมการแข่งขันหาผู้ชนะระดับโลก เมื่อปี ค.ศ. 1997

     - การควบคุมอัตโนมัติ autonomous control (ออโทโนมัส คอนโทล) เช่น ระบบ ALVINN : Autonomous Land Vehicle In a Neural Network (ออโทโนมัส แลน วีคลอ อิน อนูเรอร์ เน็ตเวิก) เป็นระบบโปรแกรมที่ทำงานด้านการมองเห็นหรือคอมพิวเตอร์วิทัศน์ computer vision system (คอมพิวเตอร์ วิชัน ซิสเต็ม) โปรแกรมนี้จะได้รับการสอนให้ควบคุมพวงมาลัยให้รถแล่นอยู่ในช่องทางอัตโนมัติ

     - การวินิจฉัย diagnosis (ไดนอสิส) เป็นการศึกษาเรื่องสร้างระบบความรู้ของปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของระบบนี้คือทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ

     - หุ่นยนต์ robotics (โรบอทติก) เช่น หุ่นยนต์ ASIMO (อาสิโม) หุ่นยนต์จิ๋วช่วยในการผ่าตัด

     - การแก้โจทย์ปัญหา problem solving (พลอมแพม โซวิ่ง) เช่น โปรแกรม PROVERB (โปรบิส) ที่แก้ปัญหาเกมปริศนาอักษรไขว้ ซึ่งทำได้ดีกว่ามนุษย์

ตัวอย่าง AI ในโลกของภาพยนต์ 
     ภาพยนต์เรื่องต่าง ๆ เช่น Terminator (ทรานฟรอเมอร์), Surrogates (ซักโรเลต), iRobot (ไอโรบอท) หรือ Minority Report (มิโลนิตี้ รีพอร์ต) เป็นต้น จะได้เห็นการทำงานของหุ่นยนตร์ที่มีปัญญาที่คิดได้เอง และสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ทั้งดีหรือไม่ดี

สรุป
     AI (เอไอ) นั้นถูกเอามาใช้ในงานแทนมนุษย์หลายอย่าง เช่น Call Center (คอล เซนเตอร์) ต่าง ๆ เพื่อลดการใช้แรงงานคน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า แต่อนาคต AI จะสามารถมาแทนการทำงานที่ซับซ้อนของคนได้แน่นอน เช่น การวางแผน การทำกลยุทธ์ทางการตลาด และการสร้างเนื้องาน Content (คอนเทน) ต่าง ๆ ฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะปรับตัว และเรียนรู้ที่จะใช้ AI ให้เป็นประโยชน์นั้นจะมีความสำคัญมากต่อธุรกิจในอนาคต และทำให้ธุรกิจนั้นมีความได้เปรียบนั้นอย่างแน่นอน


    เรื่องนี้บอกอะไรกับนักเรียน
 AI เป็นเหมือนกับสมองอัตโนมัติที่มนุษย์ทำขึ้นมาเพื่อประหยัดเวลาและสะดวกสบายต่อการใช้งาน หรือการทำดำรงชีวิตมากขั้น และยิ่งในประเทศหยิบAIมาใช้ในการศึกษาหรือการทำธุรกิจมาเท่าไหร่ก็เหมือนเป็นการกระทำที่ทำให้ประเทศมีความพัฒนามากยิ่งขึ้น

    ประโยนช์ที่ได้รับจากเรื่องนี้ 
 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบ AI ว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้างและในอนาคตระบบAIจะถูกทำมาใช้มากแค่ไหน เราต้องรับมืออย่างไร

    นักเรียนนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านเรื่องนี้มาใช้ในชีวิตอย่างไร
ประยุกต์ในกับการเรียนหนังสือ เช่น การแก้โจทย์ปัญหาโดยการใช้ AI และ นำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจในอนาคต เช่นการเขียนโค๊ตโปรแกรม การสร้างหุ่นยนต์ การใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์โดยการป้อนโค๊ต เป็นต้น

ffahksjk.blogspot.com






https://www.blogger.com/u/2/blogger.g?blogID=5654919343891580804#editor/target=post;postID=5194622490095714135;onPublishedMenu=allposts;onClosedMenu=allposts;postNum=0;src=postname

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น